วันอังคารที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ข้อดีและประโยชน์ของจริยธรรม

  คำว่า จริยธรรมแยกออกเป็น จริย + ธรรม ซึ่งคำว่า จริย หมายถึง ความประพฤติหรือกิริยาที่ควรประพฤติ ส่วนคำว่า ธรรม มีความหมายหลายประการ เช่น คุณความดี, หลักคำสอนของศาสนา, หลักปฏิบัติ เมื่อนำคำทั้งสองมารวมกันเป็น "จริยธรรม" จึงมีความหมายตามตัวอักษรว่า หลักแห่งความประพฤติหรือ แนวทางของการประพฤติ   กล่าวโดยสรุป จริยธรรมก็คือ สิ่งที่มีอยู่แล้วในตัวมนุษย์ โดยธรรมชาติ ซึ่งจะต้องพัฒนาขึ้นโดยอาศัยกฎเกณฑ์ความประพฤติที่มนุษย์ควรประพฤติที่ได้จากหลักการทางศีลธรรม หลักปรัชญา วัฒนธรรม กฎหมายหรือจารีตประเพณี เพื่อประโยชน์สุขแก่ตนเองและสังคม นอกจากนี้ จริยธรรมยังใช้เป็นแนวทางประกอบการติดสินใจเลือกความประพฤติ/การกระทำที่ถูกต้องเหมาะสมในแต่ละสถานการณ์ด้วย
                ลักษณะการปฏิบัติและลักษณะความคิดที่จัดเป็นคุณธรรมนั้นมีสภาพเป็นอยู่มากมาย จึงได้มีการจัดกลุ่มคุณธรรมหลักขึ้น เพื่อสะดวกในการทำความเข้าใจลักษณะคุณธรรมในระดับต่าง ๆ ดังลักษณะคุณธรรมที่ได้รวบรวมมาจากผล การประชุมทางวิชาการเกี่ยวกับจริยธรรมไทย ในส่วนของนโยบายและการพัฒนาเด็กระยะยาวด้านจริยธรรม จากแนวคิดของสาโรช บัวศรี และพระราชวรมุนี ดังต่อไปนี้
๑. การรักความจริง การไม่พูดปดและไม่ฉ้อฉล การรักษาคำมั่นสัญญา 
๒. การไม่เบียดเบียนกัน การรักษาสิทธิและความชอบธรรมของผู้อื่น
 
๓. ความละอายใจต่อการกระทำความผิดหรือความชั่วใด ๆ
 
๔. ความรู้จักพอ ความไม่โลภ ไม่หลง และการจัดการชีวิตตนโดยสันโดษ
 
๕. การรู้จักบังคับใจตนเอง
 
๖. ความรับผิดชอบต่อสังคม
 
๗. ความเสมอภาค
 
๘. ความเสียสละ
 
๙. ความซื่อสัตย์
 
๑๐. ความกล้า
 
๑๑. การมีแนวความคิดกว้าง
 
๑๒. ความสามัคคี
 
๑๓. ความเข้าใจในศาสนา และการใช้หลักธรรมะเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ
 
๑๔. ความมีเมตตา กรุณา และการให้อภัย
 
๑๕. ความพากเพียรและอดทน
 
๑๖. การรู้จักค่าของการทำงาน
 
๑๗. การรู้จักค่าของทรัพยากร
 
๑๘. ความมีสติสัมปชัญญะ
 
๑๙. การรู้จักใช้ปัญญาแก้ไขปัญหา
 
๒๐. การมีสัมมาอาชีวะ
 
๒๑. การมีคาวรธรรม
 
๒๒. การมีสามัคคีธรรม
 
๒๓. การมีปัญญาธรรม
 
๒๔. ความไม่ประมาท
 
๒๕. ความกตัญญูกตเวที
 
๒๖. การรักษาระเบียบวินัย
 
๒๗. การประหยัด
 
๒๘. ความยุติธรรม
 
๒๙. การมีมรรค ๘ ซึ่งจัดเป็น ๓ สาย คือ ศีล สมาธิ และปัญญา
อ้างอิง http://number1.igetweb.com/index.php?mo=3&art=374358
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๓๕ ให้คำนิยามว่า "จริยธรรม" คือ ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ, ศีลธรรม, กฎศีลธรรม
               โดยทั่วไปจริยธรรมมักอิงอยู่กับศาสนา ทั้งนี้เพราะคำสอนทางศาสนามีส่วนสร้างระบบจริยธรรมให้สังคม ดังคำกล่าวของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ที่ว่า จริยธรรมของสังคมไทยขึ้นอยู่กับระบบศีลธรรมของพุทธศาสนา ศาสนาพุทธกำหนดหลักในการปฏิบัติในชีวิตประจำไว้อย่างไร นั่นหมายความว่า ได้กำหนดหลักจริยธรรมไว้ให้ปฏิบัติอย่างนั้นแต่ทั้งนี้มิได้หมายความว่า จริยธรรมอิงอยู่กับหลักคำสอนทางศาสนาเพียงอย่างเดียว แท้ที่จริงนั้นจริยธรรมหยั่งรากอยู่บนขนบธรรมเนียมประเพณี โดยนัยนี้ บางคนเรียกหลักแห่งความประพฤติอันเนื่องมาจากคำสอนทางศาสนาว่า "ศีลธรรม" และเรียกหลักแห่งความประพฤติอันพัฒนามาจากแหล่งอื่น ๆ ว่า "จริยธรรม"

ของดีและประโยชน์ของจริยธรรม

ความสำคัญของจริยธรรม
     จริยธรรมเป็นสิ่งสำคัญในสังคมที่จะนำความสุขสงบและความเจริญก้าวหน้ามาสู่สังคมนั้น ๆเพราะเมื่อคนในสังคมมีจริยธรรม จิตใจก็ย่อมสูงส่ง มีความสะอาดและสว่างในจิตใจ
     จริยธรรมเป็นความประพฤติ การกระทำและความคิดที่ถูกต้องดีงาม รวมถึงการทำหน้าที่ของตนให้ครบถ้วนสมบูรณ์ เว้นในสิ่งที่ควรละเว้น ประกอบการและดำรงชีวิตอย่างฉลาด ด้วยสติและปัญญา รู้เหตุรู้ผลรู้กาลเทศะ กระทำทุกอย่างด้วยความรอบคอบ เสียสละอุทิศตน มุ่งมั่นและบากบั่น
     ความสำคัญของจริยธรรม จึงเป็นเครื่องมือยุทธศาสตร์ของชาติ และ สังคมเครื่องชี้วัดความเจริญความเสื่อมของสังคมจริยธรรมเป็นเรื่องที่จำเป็นยิ่งสำหรับทุกคน ทุกหมู่เหล่าและทุกอาชีพ สังคมจะอยู่รอดและเป็นสุขได้ ก็ด้วยจริยธรรม
   ลักษณะการปฏิบัติและลักษณะความคิดที่จัดเป็นคุณธรรมนั้นมีสภาพเป็นอยู่มากมาย จึงได้มีการจัดกลุ่มคุณธรรมหลักขึ้น เพื่อสะดวกในการทำความเข้าใจลักษณะคุณธรรมในระดับต่าง ๆ ดังลักษณะคุณธรรมที่ได้รวบรวมมาจากผล การประชุมทางวิชาการเกี่ยวกับจริยธรรมไทย ในส่วนของนโยบายและการพัฒนาเด็กระยะยาวด้านจริยธรรม จากแนวคิดของสาโรช บัวศรี และพระราชวรมุนี ดังต่อไปนี้
๑. การรักความจริง การไม่พูดปดและไม่ฉ้อฉล การรักษาคำมั่นสัญญา 
๒. การไม่เบียดเบียนกัน การรักษาสิทธิและความชอบธรรมของผู้อื่น
 
๓. ความละอายใจต่อการกระทำความผิดหรือความชั่วใด ๆ
 
๔. ความรู้จักพอ ความไม่โลภ ไม่หลง และการจัดการชีวิตตนโดยสันโดษ
 
๕. การรู้จักบังคับใจตนเอง
 
๖. ความรับผิดชอบต่อสังคม
 
๗. ความเสมอภาค
 
๘. ความเสียสละ
 
๙. ความซื่อสัตย์
 
๑๐. ความกล้า
 
๑๑. การมีแนวความคิดกว้าง
 
๑๒. ความสามัคคี
 
๑๓. ความเข้าใจในศาสนา และการใช้หลักธรรมะเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ
 
๑๔. ความมีเมตตา กรุณา และการให้อภัย
 
๑๕. ความพากเพียรและอดทน
 
๑๖. การรู้จักค่าของการทำงาน
 
๑๗. การรู้จักค่าของทรัพยากร
 
๑๘. ความมีสติสัมปชัญญะ
 
๑๙. การรู้จักใช้ปัญญาแก้ไขปัญหา
 
๒๐. การมีสัมมาอาชีวะ
 
๒๑. การมีคาวรธรรม
 
๒๒. การมีสามัคคีธรรม
 
๒๓. การมีปัญญาธรรม
 
๒๔. ความไม่ประมาท
 
๒๕. ความกตัญญูกตเวที
 
๒๖. การรักษาระเบียบวินัย
 
๒๗. การประหยัด
 
๒๘. ความยุติธรรม
 
๒๙. การมีมรรค ๘ ซึ่งจัดเป็น ๓ สาย คือ ศีล สมาธิ และปัญญา

วันอังคารที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2555


ภาพประกอบ
จริยธรรม (Ethics)
คำว่า "จริยธรรม" แยกออกเป็น จริย + ธรรม ซึ่งคำว่า จริย หมายถึง ความประพฤติหรือกิริยาที่ควรประพฤติ ส่วนคำว่า ธรรม มีความหมายหลายประการ เช่น คุณความดี, หลักคำสอนของศาสนา, หลักปฏิบัติ เมื่อนำคำทั้งสองมารวมกันเป็น "จริยธรรม" จึงมีความหมายตามตัวอักษรว่า "หลักแห่งความประพฤติ" หรือ "แนวทางของการประพฤติ"
จริยธรรม เป็นสิ่งที่ควรประพฤติ มีที่มาจากบทบัญญัติหรือคำสั่งสอนของศาสนา หรือใครก็ได้ที่เป็นผู้มีจริยธรรม และได้รับความเคารพนับถือมาแล้ว
ลักษณะของผู้มีจริยธรรม ผู้มีจริยธรรมจะเป็นผู้ที่มีคุณลักษณะดังนี้

๑. เป็นผู้ที่มีความเพียรความพยายามประกอบความดี ละอายต่อการปฏิบัติชั่ว
๒. เป็นผู้มีความซื่อสัตย์สุจริต ยุติธรรม และมีเมตตากรุณา
๓. เป็นผู้มีสติปัญญา รู้สึกตัวอยู่เสมอ ไม่ประมาท
๔. เป็นผู้ใฝ่หาความรู้ ความสามารถในการประกอบอาชีพ เพื่อความมั่นคง
๕. เป็นผู้ที่รัฐสามารถอาศัยเป็นแกนหรือฐานให้กับสังคม สำหรับการพัฒนาใด ๆ ได้

แนวทางการพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมที่กำหนดโดยรัฐบาล จากคุณสมบัติของผู้มีจริยธรรมดังกล่าว แสดงถึงความเป็นคนมีคุณภาพ มีภาวะความเป็นผู้นำ อันเป็นที่ต้องการขององค์การและสังคมทุกระดับ รัฐบาลไทยได้เห็นความสำคัญของการพัฒนาคุณภาพของประชาชนในด้านจริยธรรมและคุณธรรมในสังคม จึงได้บรรจุไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ ๘ โดยเน้นการพัฒนาจิตใจในลักษณะที่สอดคล้องและเหมาะสมกับสภาพทางเศรษฐกิจและสังคมปัจจุบัน ซึ่งผลที่ปรากฏในปัจจุบันก็คือ มีการเผยแผ่ธรรมะทางสื่อต่าง ๆ มากมาย วัดวาอารามก็ได้เข้ามามีส่วนร่วมส่วนช่วยในการอบรมสั่งสอนด้วย จริยธรรมเป็นจริยสมบัติ หน่วยงานต่าง ๆ ก็ให้การสนับสนุนเป็นอย่างดี คนไทยวัยหนุ่มสาวและเยาวชนได้ให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก จากที่เห็นได้จากสื่อและข่าวต่าง ๆ เนื่องจากจริยธรรมเป็นคุณสมบุติที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องมือในการวัดคุณภาพของคน ซึ่งมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของประชากรทั้งประเทศ รัฐบาลจึงได้กำหนดแนวทางการพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมไว้ดังนี้

๑. พัฒนาจิตใจประชากรกลุ่มเป้าหมาย โดยให้ผู้นำแต่ละกลุ่มเป็นผู้บริหารเปลี่ยนแปลง
๒. ให้สถาบันของสังคมและครอบครัวทำหน้าที่อันถูกต้อง ชอบธรรมของตนเอง แก้ไขข้อบกพร่องโดยรีบด่วน
๓. บรรจุการพัฒนาจิตใจในหลักสูตร การฝึกอบรมทุกหลักสูตร และให้ดำเนินการพัฒนาต่อเนื่องต่อไป
๔. ให้มีการพัฒนาวิธีปลูกฝัง อบรม สั่งสอนศีลธรรม จริยธรรม ตามความเหมาะสมของกลุ่มเป้าหมายให้เป็นที่น่าสนใจ
๕. สร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมของสังคมอันได้แก่ศิลปะ วัฒนธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่ถูกต้องดีงามตามหลักศีลธรรมและจริยธรรม

นอกจากการพัฒนาของรัฐบาลดังกล่าว องค์การควรได้ส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรขององค์การในวิธีเดียวกันในองค์การอีกแห่งหนึ่ง เพื่อให้บุคลากรขององค์การเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่พึงประสงค์ขององค์การและประเทศชาติโดยแท้จริง การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยวิธีดังกล่าวอาจเป็นส่วนหนึ่งสำหรับการพัฒนาองค์การ ที่สำคัญก็คือองค์การควรให้มีการสร้างบรรยากาศหรือสภาวะแวดล้อมในการทำงานให้ดีด้วย ดังเช่นไม่ให้คนมีงานทำมากเกินไป หรือน้อยเกินไป การพิจารณาความดีความชอบให้มีความยุติธรรม และส่งเสริมด้วยมนุษยสัมพันธ์ภายในองค์การด้วย ซึ่งบรรยากาศที่ดีจะช่วยการพัฒนาจิตใจ ในด้านสถาบันการศึกษาก็ควรได้มีการบรรจุหลักคุณธรรมไว้ในหลักสูตร เพื่อเป็นการพัฒนาและให้การศึกษากับคนทั้งชาติ เพื่อการพัฒนาจิตใจของคนในชาติให้มีคุณภาพ