ลักษณะการปฏิบัติและลักษณะความคิดที่จัดเป็นคุณธรรมนั้นมีสภาพเป็นอยู่มากมาย จึงได้มีการจัดกลุ่มคุณธรรมหลักขึ้น เพื่อสะดวกในการทำความเข้าใจลักษณะคุณธรรมในระดับต่าง ๆ ดังลักษณะคุณธรรมที่ได้รวบรวมมาจากผล การประชุมทางวิชาการเกี่ยวกับจริยธรรมไทย ในส่วนของนโยบายและการพัฒนาเด็กระยะยาวด้านจริยธรรม จากแนวคิดของสาโรช บัวศรี และพระราชวรมุนี ดังต่อไปนี้
๑. การรักความจริง การไม่พูดปดและไม่ฉ้อฉล การรักษาคำมั่นสัญญา
๒. การไม่เบียดเบียนกัน การรักษาสิทธิและความชอบธรรมของผู้อื่น
๓. ความละอายใจต่อการกระทำความผิดหรือความชั่วใด ๆ
๔. ความรู้จักพอ ความไม่โลภ ไม่หลง และการจัดการชีวิตตนโดยสันโดษ
๕. การรู้จักบังคับใจตนเอง
๖. ความรับผิดชอบต่อสังคม
๗. ความเสมอภาค
๘. ความเสียสละ
๙. ความซื่อสัตย์
๑๐. ความกล้า
๑๑. การมีแนวความคิดกว้าง
๑๒. ความสามัคคี
๑๓. ความเข้าใจในศาสนา และการใช้หลักธรรมะเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ
๑๔. ความมีเมตตา กรุณา และการให้อภัย
๑๕. ความพากเพียรและอดทน
๑๖. การรู้จักค่าของการทำงาน
๑๗. การรู้จักค่าของทรัพยากร
๑๘. ความมีสติสัมปชัญญะ
๑๙. การรู้จักใช้ปัญญาแก้ไขปัญหา
๒๐. การมีสัมมาอาชีวะ
๒๑. การมีคาวรธรรม
๒๒. การมีสามัคคีธรรม
๒๓. การมีปัญญาธรรม
๒๔. ความไม่ประมาท
๒๕. ความกตัญญูกตเวที
๒๖. การรักษาระเบียบวินัย
๒๗. การประหยัด
๒๘. ความยุติธรรม
๒๙. การมีมรรค ๘ ซึ่งจัดเป็น ๓ สาย คือ ศีล สมาธิ และปัญญา
อ้างอิง http://number1.igetweb.com/index.php?mo=3&art=374358๒. การไม่เบียดเบียนกัน การรักษาสิทธิและความชอบธรรมของผู้อื่น
๓. ความละอายใจต่อการกระทำความผิดหรือความชั่วใด ๆ
๔. ความรู้จักพอ ความไม่โลภ ไม่หลง และการจัดการชีวิตตนโดยสันโดษ
๕. การรู้จักบังคับใจตนเอง
๖. ความรับผิดชอบต่อสังคม
๗. ความเสมอภาค
๘. ความเสียสละ
๙. ความซื่อสัตย์
๑๐. ความกล้า
๑๑. การมีแนวความคิดกว้าง
๑๒. ความสามัคคี
๑๓. ความเข้าใจในศาสนา และการใช้หลักธรรมะเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ
๑๔. ความมีเมตตา กรุณา และการให้อภัย
๑๕. ความพากเพียรและอดทน
๑๖. การรู้จักค่าของการทำงาน
๑๗. การรู้จักค่าของทรัพยากร
๑๘. ความมีสติสัมปชัญญะ
๑๙. การรู้จักใช้ปัญญาแก้ไขปัญหา
๒๐. การมีสัมมาอาชีวะ
๒๑. การมีคาวรธรรม
๒๒. การมีสามัคคีธรรม
๒๓. การมีปัญญาธรรม
๒๔. ความไม่ประมาท
๒๕. ความกตัญญูกตเวที
๒๖. การรักษาระเบียบวินัย
๒๗. การประหยัด
๒๘. ความยุติธรรม
๒๙. การมีมรรค ๘ ซึ่งจัดเป็น ๓ สาย คือ ศีล สมาธิ และปัญญา
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๓๕ ให้คำนิยามว่า "จริยธรรม" คือ ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ, ศีลธรรม, กฎศีลธรรม
โดยทั่วไปจริยธรรมมักอิงอยู่กับศาสนา ทั้งนี้เพราะคำสอนทางศาสนามีส่วนสร้างระบบจริยธรรมให้สังคม ดังคำกล่าวของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ที่ว่า “จริยธรรมของสังคมไทยขึ้นอยู่กับระบบศีลธรรมของพุทธศาสนา ศาสนาพุทธกำหนดหลักในการปฏิบัติในชีวิตประจำไว้อย่างไร นั่นหมายความว่า ได้กำหนดหลักจริยธรรมไว้ให้ปฏิบัติอย่างนั้น” แต่ทั้งนี้มิได้หมายความว่า จริยธรรมอิงอยู่กับหลักคำสอนทางศาสนาเพียงอย่างเดียว แท้ที่จริงนั้นจริยธรรมหยั่งรากอยู่บนขนบธรรมเนียมประเพณี โดยนัยนี้ บางคนเรียกหลักแห่งความประพฤติอันเนื่องมาจากคำสอนทางศาสนาว่า "ศีลธรรม" และเรียกหลักแห่งความประพฤติอันพัฒนามาจากแหล่งอื่น ๆ ว่า "จริยธรรม"
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น