ความสำคัญของจริยธรรม
จริยธรรมเป็นสิ่งสำคัญในสังคมที่จะนำความสุขสงบและความเจริญก้าวหน้ามาสู่สังคมนั้น ๆเพราะเมื่อคนในสังคมมีจริยธรรม จิตใจก็ย่อมสูงส่ง มีความสะอาดและสว่างในจิตใจ
จริยธรรมเป็นความประพฤติ การกระทำและความคิดที่ถูกต้องดีงาม รวมถึงการทำหน้าที่ของตนให้ครบถ้วนสมบูรณ์ เว้นในสิ่งที่ควรละเว้น ประกอบการและดำรงชีวิตอย่างฉลาด ด้วยสติและปัญญา รู้เหตุรู้ผลรู้กาลเทศะ กระทำทุกอย่างด้วยความรอบคอบ เสียสละอุทิศตน มุ่งมั่นและบากบั่น
ความสำคัญของจริยธรรม จึงเป็นเครื่องมือยุทธศาสตร์ของชาติ และ สังคมเครื่องชี้วัดความเจริญความเสื่อมของสังคมจริยธรรมเป็นเรื่องที่จำเป็นยิ่งสำหรับทุกคน ทุกหมู่เหล่าและทุกอาชีพ สังคมจะอยู่รอดและเป็นสุขได้ ก็ด้วยจริยธรรม
ลักษณะการปฏิบัติและลักษณะความคิดที่จัดเป็นคุณธรรมนั้นมีสภาพเป็นอยู่มากมาย จึงได้มีการจัดกลุ่มคุณธรรมหลักขึ้น เพื่อสะดวกในการทำความเข้าใจลักษณะคุณธรรมในระดับต่าง ๆ ดังลักษณะคุณธรรมที่ได้รวบรวมมาจากผล การประชุมทางวิชาการเกี่ยวกับจริยธรรมไทย ในส่วนของนโยบายและการพัฒนาเด็กระยะยาวด้านจริยธรรม จากแนวคิดของสาโรช บัวศรี และพระราชวรมุนี ดังต่อไปนี้
๑. การรักความจริง การไม่พูดปดและไม่ฉ้อฉล การรักษาคำมั่นสัญญา
๒. การไม่เบียดเบียนกัน การรักษาสิทธิและความชอบธรรมของผู้อื่น
๓. ความละอายใจต่อการกระทำความผิดหรือความชั่วใด ๆ
๔. ความรู้จักพอ ความไม่โลภ ไม่หลง และการจัดการชีวิตตนโดยสันโดษ
๕. การรู้จักบังคับใจตนเอง
๖. ความรับผิดชอบต่อสังคม
๗. ความเสมอภาค
๘. ความเสียสละ
๙. ความซื่อสัตย์
๑๐. ความกล้า
๑๑. การมีแนวความคิดกว้าง
๑๒. ความสามัคคี
๑๓. ความเข้าใจในศาสนา และการใช้หลักธรรมะเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ
๑๔. ความมีเมตตา กรุณา และการให้อภัย
๑๕. ความพากเพียรและอดทน
๑๖. การรู้จักค่าของการทำงาน
๑๗. การรู้จักค่าของทรัพยากร
๑๘. ความมีสติสัมปชัญญะ
๑๙. การรู้จักใช้ปัญญาแก้ไขปัญหา
๒๐. การมีสัมมาอาชีวะ
๒๑. การมีคาวรธรรม
๒๒. การมีสามัคคีธรรม
๒๓. การมีปัญญาธรรม
๒๔. ความไม่ประมาท
๒๕. ความกตัญญูกตเวที
๒๖. การรักษาระเบียบวินัย
๒๗. การประหยัด
๒๘. ความยุติธรรม
๒๙. การมีมรรค ๘ ซึ่งจัดเป็น ๓ สาย คือ ศีล สมาธิ และปัญญา
๒. การไม่เบียดเบียนกัน การรักษาสิทธิและความชอบธรรมของผู้อื่น
๓. ความละอายใจต่อการกระทำความผิดหรือความชั่วใด ๆ
๔. ความรู้จักพอ ความไม่โลภ ไม่หลง และการจัดการชีวิตตนโดยสันโดษ
๕. การรู้จักบังคับใจตนเอง
๖. ความรับผิดชอบต่อสังคม
๗. ความเสมอภาค
๘. ความเสียสละ
๙. ความซื่อสัตย์
๑๐. ความกล้า
๑๑. การมีแนวความคิดกว้าง
๑๒. ความสามัคคี
๑๓. ความเข้าใจในศาสนา และการใช้หลักธรรมะเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ
๑๔. ความมีเมตตา กรุณา และการให้อภัย
๑๕. ความพากเพียรและอดทน
๑๖. การรู้จักค่าของการทำงาน
๑๗. การรู้จักค่าของทรัพยากร
๑๘. ความมีสติสัมปชัญญะ
๑๙. การรู้จักใช้ปัญญาแก้ไขปัญหา
๒๐. การมีสัมมาอาชีวะ
๒๑. การมีคาวรธรรม
๒๒. การมีสามัคคีธรรม
๒๓. การมีปัญญาธรรม
๒๔. ความไม่ประมาท
๒๕. ความกตัญญูกตเวที
๒๖. การรักษาระเบียบวินัย
๒๗. การประหยัด
๒๘. ความยุติธรรม
๒๙. การมีมรรค ๘ ซึ่งจัดเป็น ๓ สาย คือ ศีล สมาธิ และปัญญา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น