วันพุธที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ตัวอย่างการทำผิดต่อ พรบ. คอมพิวเตอร์


สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ (มว.) จัดแถลงแก้ข่าวกรณีที่มีฟอร์เวิร์ดเมลระบุว่ามาตรวิทยาจะปรับเวลามาตรฐานของประเทศไทยให้เร็วขึ้น 30 นาที ซึ่งไม่เป็นความจริง โดยมี (จากซ้าย) พล.อ.ต.เพียร โตท่าโรง ผอ.มว., นายธงชัย แสงศิริ นักวิชาการคอมพิวเตอร์จากสำนักกำกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ กระทรวงไอซีที และ พล.ร.ต.สมาน อ่วมจันทร์ รองเจ้ากรมอุกศาสตร์ ทหารเรือ ร่วมแถลงข่าว เมื่อวันที่ 15 ส.ค. 2551 ณ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

มือฟอร์เวิร์ดเมลลวงปรับเวลาไทย เข้าข่ายผิด พ.ร.บ.คอม “มาตรวิทยา” เตรียมหาทางจัดการทางกฎหมาย ย้ำชัดมาตรฐานเวลาไทย ใช่จะปรับเปลี่ยนกันง่ายๆ ต้องแก้กฏหมายด้วย ระบุประกาศปรับเวลามาตรฐานสำหรับผู้ประกอบการเครือข่ายคอมพิวเตอร์ รับ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ หากไม่บันทึกการจราจรคอมพิวเตอร์ตามที่กระทรวงไอซีทีกำหนด โทษปรับไม่เกิน 5 แสน      
       หลังจากมีฟอร์เวิร์ดเมลลวง ระบุว่าสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ (มว.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) จะมีการปรับเปลี่ยนเวลามาตรฐานของประเทศไทยให้เร็วขึ้น 30 นาที ทำให้ประชาชนตื่นตระหนก และโทรศัพท์เข้าไปสอบถามกับทางสถาบันกันเป็นจำนวนมาก มว. จึงต้องจัดการแถลงเพื่อแก้ข่าวลือดังกล่าวขึ้นเมื่อวันที่ 15 ส.ค.51 ที่ผ่านมา ณ ห้องโถง ชั้น 1 กระทรวงวิทย์ฯ ซึ่งมีผู้สื่อข่าวหลายแขนงให้ความสนใจมาร่วมงานเป็นจำนวนมากรวมทั้งผู้จัดการวิทยาศาสตร์ด้วย
      
       ”ขอย้ำว่าไม่มีการปรับเปลี่ยนเวลามาตรฐานของประเทศไทย ตามที่มีการอ้างถึงในฟอร์เวิร์ดเมลแต่อย่างใด ซึ่งฟอร์เวิร์ดเมลดังกล่าวเป็นเท็จโดยสิ้นเชิง” พล.อ.ต.เพียร โตท่าโรง ผอ.มว. กล่าวย้ำแก่ผู้สื่อข่าว พร้อมกับชี้แจงว่า เวลามาตรฐานของไทยมีใช้มานานแล้ว และการจะปรับเปลี่ยนเวลามาตรฐานไม่ใช่เรื่องที่ทำได้ง่ายๆ ซึ่งจะต้องย้อนกลับไปพิจารณากฎหมายเดิมว่าเขียนไว้ว่าอย่างไร และจะต้องมีการแก้ไขกฎหมายหากจะทำการปรับเปลี่ยนเวลา
      
       ทั้งนี้ พล.ร.ต.สมาน อ่วมจันทร์ รองเจ้ากรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ กล่าวว่า ในสมัยรัชกาลที่ 6 ประเทศไทยมีพระราชกฤษฎีกาให้ใช้เวลามาตรฐานสากลนับตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 2463 ตามมาตราเวลาพิกัดสากลของกรีนิช กับค่าประจำเขตเวลา (Time Zone) ที่ประเทศไทยตั้งอยู่ ซึ่งอยู่ในเส้นแบ่งเขตเวลา +7 ดังนั้น เวลามาตรฐานประเทศไทยจึงเร็วกว่าเวลามาตรฐานสากล 7 ชั่วโมง
      
       ส่วนกรณี ผู้ที่ให้ข้อมูลในฟอร์เวิร์ดเมลลวงดังกล่าว ถือเป็นการให้ข้อมูลเท็จและทำให้ประชาชนตื่นตะหนก ซึ่ง พล.อ.ต.เพียร ระบุว่า เข้าข่ายกระทำผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 14 ซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งทาง มว.กำลังอยู่ระหว่างปรึกษากับนิติกร ว่าจะดำเนินการต่อไปอย่างไร
      
       ส่วนการปรับเวลา ให้ตรงกับเวลามาตรฐานของประเทศไทย ผอ.มว. กล่าวว่า ขณะนี้ประชาชนสามารถเข้าถึงเวลามาตรฐานของประเทศไทย ได้ 3 ช่องทางด้วยกัน ได้แก่ สอบเทียบเวลามาตรฐานได้โดยตรงกับห้องปฏิบัติการของ มว. ที่คลองห้า, เทียบกับเวลากับกรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ โทร. 181
      
       ส่วนช่องทางสุดท้าย บริการถ่ายทอดสัญญาณเวลามาตรฐานประเทศไทยผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่ง มว. ได้จัดตั้งไทม์เซอร์เวอร์ (Time Server) ได้แก่ time1.nimt.or.th, time2.nimt.or.th และ time3.nimt.or.th เพื่อให้บริการปรับเทียบเวลาผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งนี้ สามารถศึกษาวิธีการปรับเทียบเวลาได้ที่ www.nimt.or.th
      
       อย่างไรก็ดี ประกาศกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เรื่อง หลักเกณฑ์การเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการ พ.ศ. 2550 ข้อ 9. เพื่อให้ข้อมูลจราจรมีความถูกต้องและนำมาใช้ประโยชน์ได้จริง ผู้ให้บริการต้องตั้งนาฬิกาของอุปกรณ์บริการชนิดให้ตรงกับเวลาอ้างอิงสากล (Stratum 0) โดยผิดพลาดไม่เกิน 10 มิลลิวินาที ที่จะสิ้นสุดการผ่อนผันและมีผลบังคับใช้ในวันที่ 23 ส.ค.51 นี้
      
       กฏดังกล่าว กำหนดว่าผู้ประกอบการเครือข่ายคอมพิวเตอร์สำหรับให้บริการประชาชน ได้แก่
      
       1.ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมและกิจการกระจายภาพและเสียง อาทิ ผู้ให้บริการโทรศัพท์ขั้นพื้นฐาน โทรศัพท์เคลื่อนที่ ผู้ให้บริการเอทีเอ็ม เป็นต้น
      
       2.ผู้ให้บริการการเข้าถึงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ อาทิ ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต เจ้าของหอพัก โรงแรม หน่วยราชการ บริษัทต่างๆ เป็นต้น
      
       3.ผู้ให้บริการเช่าระบบคอมพิวเตอร์เพื่อให้บริการโปรแกรมประยุกต์ต่างๆ
      
       และ 4.ผู้ให้บริการร้านอินเทอร์เน็ตต่างๆ ต้องปรับเวลาให้ตรงกับเวลามาตรฐานประเทศโดยผิดพลาดไม่เกิน 10 มิลลิวินาที มิเช่นนั้นจะมีความผิดตามกฏหมาย และมีโทษปรับไม่เกิน 500,000 บาท
      
       ทั้งนี้ พล.อ.ต.เพียร ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ทาง มว. ได้ศึกษาวิจัยการตรวจวัดสัญญาณความคลาดเคลื่อนของระบบเอ็นทีพี (Network Time Potocol: NTP) ในการปรับเทียบเวลามาตรฐานประเทศไทย (Thailand Standard Time: TST) ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ในจังหวัดต่างๆ เช่น เชียงใหม่ เชียงราย ขอนแก่น อุบลราชธานี พบว่า มีความคลาดเคลื่อนน้อยที่สุด 20 มิลลิวินาที และบางจังหวัดคลาดเคลื่อนมากถึง 120 มิลลิวินาที ซึ่งเกินกว่าที่กระทรวงไอซีทีกำหนด
      
       แต่ทั้งนี้ความคลาดเคลื่อนสูงสุดไม่ควรเกิน 200 มิลลิวินาที ดังนั้นหากกฏหมายกำหนดให้คลาดเคลื่อนได้ไม่เกิน 10 มิลลิวินาที มีเพียงไม่กี่องค์กรเท่านั้นที่สามารถทำได้ แต่หากกำหนดให้คลาดเคลื่อนไม่เกิน 200 มิลลิวินาที จะสามารถทำได้ทั่วประเทศ
      
       อย่างไรก็ดี ผู้จัดการวิทยาศาสตร์ได้สัมภาษณ์ นายวินัย อยู่สบาย ผู้อำนวยการสำนักกำกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เพิ่มเติมทางโทรศัพท์ ซึ่งนายวินัย ชี้แจงว่า จากการทดลองใช้ประกาศกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เรื่อง หลักเกณฑ์การเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการ พ.ศ. 2550 มาเป็นเวลา 1 ปี พบว่ายังมาบางจุดที่อาจต้องแก้ไขให้เหมาะสม รวมทั้งกรณีที่กำหนดให้ผู้ให้บริการเครือข่ายคอมพิวเตอร์ต้องปรับเวลาให้คลาดเคลื่อนไม่เกิน 10 มิลลิวินาที ซึ่งอาจเป็นไปได้ลำบาก
      
       แต่ สาระสำคัญของประกาศดังกล่าว ก็เพื่อตรวจสอบข้อมูลจราจรคอมพิวเตอร์ในกรณีที่มีการกระทำผิดเกิดขึ้น เช่น หากมีการเผยแพร่ข้อมูลที่ไม่เหมาะสมผ่านทางอินเตอร์ และตรวจสอบพบว่าต้นตอออกมาจากเครื่องคอมพิวเตอร์ขององค์กรหนึ่ง ก็จะต้องตรวจสอบต่อไปว่าใครเป็นผู้ใช้คอมพิวเตอร์ดังกล่าวในเวลานั้น เพื่อหาตัวผู้กระทำผิด ซึ่งหากเวลาของระบบคอมพิวเตอร์นั้นคลาดเคลื่อนไปจากเวลามาตรฐาน ก็อาจมีผลต่อการสืบหาตัวผู้กระทำผิดได้
      
       นายวินัย ชี้แจงต่อว่า หากตรวจสอบแล้วพบว่าหน่วยงาน หรือองค์กรดังกล่าวตามที่ระบุในประกาศของกระทรวงไอซีที ไม่มีการบันทึกข้อมูลจราจรตามที่กฏของกระทรวงระบุ จะมีโทษปรับไม่เกิน 500,000 บาท ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับดุลพินิจของศาล แต่มิใช่ว่าหน่วยงานดังกล่าวจะมีโทษและถูกปรับจากการที่ปรับเวลาคลาดเคลื่อนไปจากเวลามาตรฐานของประเทศไทยเกินกว่า 10 มิลลิวินาที ตามที่หลายคนเข้าใจ
      
       ส่วนกรณีฟอร์เวิร์ดเมลเท็จ ที่ระบุว่ามาตรวิทยาจะปรับเวลาประเทศไทยเร็วขึ้น 30 นาที นายวินัย กล่าวว่า ถือเป็นการให้ข้อมูลเท็จและทำให้ประชาชนแตกตื่น จึงถือเป็นการกระทำผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ซึ่งจะดำเนินสืบหาตัวผู้กระทำผิดมาดำเนินคดีต่อไป.

วันอังคารที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2555

อาชีพเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

1.เกมมาสเตอร์
2.นักพัฒนาซอฟต์แวร์
3.แบล็กแฮต
4.ผู้ดูแลระบบ หรือ แอดมิน
5.เว็บมาสเตอร์ 
6.ไวท์แฮต 
7.อุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์
8.การพัฒนาเกมและงานด้านภาพยนตร์
9.วิศวกรรมคอมพิวเตอร์
10.การบริหารจัดการเว็บไซต์
11.ผู้จัดการเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 
12.Programer หรือ System analyst 
13. พนักงานขายคอมพิวเตอร์ 
14.ครูสอนหนังสือ เช่น Word , Excel , Programming เป็นต้น 
15.Webmaster, Web cordinator , Web maintainance 
16.Graphic creatoe , Special effect worker 
17.พนักงานป้อนข้อมูล , Copy writer 
18. ผู้ดูแลห้องปฏิบัติการ , นักเดินระบบเครือข่าย 
19.. เปิดร้าน Internet cafe 
20.พิมพ์งา
21.ติดตั้งซอฟแวร์
22.ซ่อมและดูแลคอมพิวเตอร์
23.พัฒนาเว็บ
24.ฐานข้อมูล
25.พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์
26.อบรมคอมพิวเตอร์
27.ติดตั้งระบบเครือข่าย
28.ที่ปรึกษา สำหรับการพัฒนาโอเพนซอร์สในองค์กร
29.รับติดตั้งโปรแกรมบันทึกข้อมูลการจราจร
30.ผู้ดูแลห้องปฏิบัติการ

วันอังคารที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ข้อดีและประโยชน์ของจริยธรรม

  คำว่า จริยธรรมแยกออกเป็น จริย + ธรรม ซึ่งคำว่า จริย หมายถึง ความประพฤติหรือกิริยาที่ควรประพฤติ ส่วนคำว่า ธรรม มีความหมายหลายประการ เช่น คุณความดี, หลักคำสอนของศาสนา, หลักปฏิบัติ เมื่อนำคำทั้งสองมารวมกันเป็น "จริยธรรม" จึงมีความหมายตามตัวอักษรว่า หลักแห่งความประพฤติหรือ แนวทางของการประพฤติ   กล่าวโดยสรุป จริยธรรมก็คือ สิ่งที่มีอยู่แล้วในตัวมนุษย์ โดยธรรมชาติ ซึ่งจะต้องพัฒนาขึ้นโดยอาศัยกฎเกณฑ์ความประพฤติที่มนุษย์ควรประพฤติที่ได้จากหลักการทางศีลธรรม หลักปรัชญา วัฒนธรรม กฎหมายหรือจารีตประเพณี เพื่อประโยชน์สุขแก่ตนเองและสังคม นอกจากนี้ จริยธรรมยังใช้เป็นแนวทางประกอบการติดสินใจเลือกความประพฤติ/การกระทำที่ถูกต้องเหมาะสมในแต่ละสถานการณ์ด้วย
                ลักษณะการปฏิบัติและลักษณะความคิดที่จัดเป็นคุณธรรมนั้นมีสภาพเป็นอยู่มากมาย จึงได้มีการจัดกลุ่มคุณธรรมหลักขึ้น เพื่อสะดวกในการทำความเข้าใจลักษณะคุณธรรมในระดับต่าง ๆ ดังลักษณะคุณธรรมที่ได้รวบรวมมาจากผล การประชุมทางวิชาการเกี่ยวกับจริยธรรมไทย ในส่วนของนโยบายและการพัฒนาเด็กระยะยาวด้านจริยธรรม จากแนวคิดของสาโรช บัวศรี และพระราชวรมุนี ดังต่อไปนี้
๑. การรักความจริง การไม่พูดปดและไม่ฉ้อฉล การรักษาคำมั่นสัญญา 
๒. การไม่เบียดเบียนกัน การรักษาสิทธิและความชอบธรรมของผู้อื่น
 
๓. ความละอายใจต่อการกระทำความผิดหรือความชั่วใด ๆ
 
๔. ความรู้จักพอ ความไม่โลภ ไม่หลง และการจัดการชีวิตตนโดยสันโดษ
 
๕. การรู้จักบังคับใจตนเอง
 
๖. ความรับผิดชอบต่อสังคม
 
๗. ความเสมอภาค
 
๘. ความเสียสละ
 
๙. ความซื่อสัตย์
 
๑๐. ความกล้า
 
๑๑. การมีแนวความคิดกว้าง
 
๑๒. ความสามัคคี
 
๑๓. ความเข้าใจในศาสนา และการใช้หลักธรรมะเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ
 
๑๔. ความมีเมตตา กรุณา และการให้อภัย
 
๑๕. ความพากเพียรและอดทน
 
๑๖. การรู้จักค่าของการทำงาน
 
๑๗. การรู้จักค่าของทรัพยากร
 
๑๘. ความมีสติสัมปชัญญะ
 
๑๙. การรู้จักใช้ปัญญาแก้ไขปัญหา
 
๒๐. การมีสัมมาอาชีวะ
 
๒๑. การมีคาวรธรรม
 
๒๒. การมีสามัคคีธรรม
 
๒๓. การมีปัญญาธรรม
 
๒๔. ความไม่ประมาท
 
๒๕. ความกตัญญูกตเวที
 
๒๖. การรักษาระเบียบวินัย
 
๒๗. การประหยัด
 
๒๘. ความยุติธรรม
 
๒๙. การมีมรรค ๘ ซึ่งจัดเป็น ๓ สาย คือ ศีล สมาธิ และปัญญา
อ้างอิง http://number1.igetweb.com/index.php?mo=3&art=374358
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๓๕ ให้คำนิยามว่า "จริยธรรม" คือ ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ, ศีลธรรม, กฎศีลธรรม
               โดยทั่วไปจริยธรรมมักอิงอยู่กับศาสนา ทั้งนี้เพราะคำสอนทางศาสนามีส่วนสร้างระบบจริยธรรมให้สังคม ดังคำกล่าวของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ที่ว่า จริยธรรมของสังคมไทยขึ้นอยู่กับระบบศีลธรรมของพุทธศาสนา ศาสนาพุทธกำหนดหลักในการปฏิบัติในชีวิตประจำไว้อย่างไร นั่นหมายความว่า ได้กำหนดหลักจริยธรรมไว้ให้ปฏิบัติอย่างนั้นแต่ทั้งนี้มิได้หมายความว่า จริยธรรมอิงอยู่กับหลักคำสอนทางศาสนาเพียงอย่างเดียว แท้ที่จริงนั้นจริยธรรมหยั่งรากอยู่บนขนบธรรมเนียมประเพณี โดยนัยนี้ บางคนเรียกหลักแห่งความประพฤติอันเนื่องมาจากคำสอนทางศาสนาว่า "ศีลธรรม" และเรียกหลักแห่งความประพฤติอันพัฒนามาจากแหล่งอื่น ๆ ว่า "จริยธรรม"

ของดีและประโยชน์ของจริยธรรม

ความสำคัญของจริยธรรม
     จริยธรรมเป็นสิ่งสำคัญในสังคมที่จะนำความสุขสงบและความเจริญก้าวหน้ามาสู่สังคมนั้น ๆเพราะเมื่อคนในสังคมมีจริยธรรม จิตใจก็ย่อมสูงส่ง มีความสะอาดและสว่างในจิตใจ
     จริยธรรมเป็นความประพฤติ การกระทำและความคิดที่ถูกต้องดีงาม รวมถึงการทำหน้าที่ของตนให้ครบถ้วนสมบูรณ์ เว้นในสิ่งที่ควรละเว้น ประกอบการและดำรงชีวิตอย่างฉลาด ด้วยสติและปัญญา รู้เหตุรู้ผลรู้กาลเทศะ กระทำทุกอย่างด้วยความรอบคอบ เสียสละอุทิศตน มุ่งมั่นและบากบั่น
     ความสำคัญของจริยธรรม จึงเป็นเครื่องมือยุทธศาสตร์ของชาติ และ สังคมเครื่องชี้วัดความเจริญความเสื่อมของสังคมจริยธรรมเป็นเรื่องที่จำเป็นยิ่งสำหรับทุกคน ทุกหมู่เหล่าและทุกอาชีพ สังคมจะอยู่รอดและเป็นสุขได้ ก็ด้วยจริยธรรม
   ลักษณะการปฏิบัติและลักษณะความคิดที่จัดเป็นคุณธรรมนั้นมีสภาพเป็นอยู่มากมาย จึงได้มีการจัดกลุ่มคุณธรรมหลักขึ้น เพื่อสะดวกในการทำความเข้าใจลักษณะคุณธรรมในระดับต่าง ๆ ดังลักษณะคุณธรรมที่ได้รวบรวมมาจากผล การประชุมทางวิชาการเกี่ยวกับจริยธรรมไทย ในส่วนของนโยบายและการพัฒนาเด็กระยะยาวด้านจริยธรรม จากแนวคิดของสาโรช บัวศรี และพระราชวรมุนี ดังต่อไปนี้
๑. การรักความจริง การไม่พูดปดและไม่ฉ้อฉล การรักษาคำมั่นสัญญา 
๒. การไม่เบียดเบียนกัน การรักษาสิทธิและความชอบธรรมของผู้อื่น
 
๓. ความละอายใจต่อการกระทำความผิดหรือความชั่วใด ๆ
 
๔. ความรู้จักพอ ความไม่โลภ ไม่หลง และการจัดการชีวิตตนโดยสันโดษ
 
๕. การรู้จักบังคับใจตนเอง
 
๖. ความรับผิดชอบต่อสังคม
 
๗. ความเสมอภาค
 
๘. ความเสียสละ
 
๙. ความซื่อสัตย์
 
๑๐. ความกล้า
 
๑๑. การมีแนวความคิดกว้าง
 
๑๒. ความสามัคคี
 
๑๓. ความเข้าใจในศาสนา และการใช้หลักธรรมะเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ
 
๑๔. ความมีเมตตา กรุณา และการให้อภัย
 
๑๕. ความพากเพียรและอดทน
 
๑๖. การรู้จักค่าของการทำงาน
 
๑๗. การรู้จักค่าของทรัพยากร
 
๑๘. ความมีสติสัมปชัญญะ
 
๑๙. การรู้จักใช้ปัญญาแก้ไขปัญหา
 
๒๐. การมีสัมมาอาชีวะ
 
๒๑. การมีคาวรธรรม
 
๒๒. การมีสามัคคีธรรม
 
๒๓. การมีปัญญาธรรม
 
๒๔. ความไม่ประมาท
 
๒๕. ความกตัญญูกตเวที
 
๒๖. การรักษาระเบียบวินัย
 
๒๗. การประหยัด
 
๒๘. ความยุติธรรม
 
๒๙. การมีมรรค ๘ ซึ่งจัดเป็น ๓ สาย คือ ศีล สมาธิ และปัญญา

วันอังคารที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2555


ภาพประกอบ
จริยธรรม (Ethics)
คำว่า "จริยธรรม" แยกออกเป็น จริย + ธรรม ซึ่งคำว่า จริย หมายถึง ความประพฤติหรือกิริยาที่ควรประพฤติ ส่วนคำว่า ธรรม มีความหมายหลายประการ เช่น คุณความดี, หลักคำสอนของศาสนา, หลักปฏิบัติ เมื่อนำคำทั้งสองมารวมกันเป็น "จริยธรรม" จึงมีความหมายตามตัวอักษรว่า "หลักแห่งความประพฤติ" หรือ "แนวทางของการประพฤติ"
จริยธรรม เป็นสิ่งที่ควรประพฤติ มีที่มาจากบทบัญญัติหรือคำสั่งสอนของศาสนา หรือใครก็ได้ที่เป็นผู้มีจริยธรรม และได้รับความเคารพนับถือมาแล้ว
ลักษณะของผู้มีจริยธรรม ผู้มีจริยธรรมจะเป็นผู้ที่มีคุณลักษณะดังนี้

๑. เป็นผู้ที่มีความเพียรความพยายามประกอบความดี ละอายต่อการปฏิบัติชั่ว
๒. เป็นผู้มีความซื่อสัตย์สุจริต ยุติธรรม และมีเมตตากรุณา
๓. เป็นผู้มีสติปัญญา รู้สึกตัวอยู่เสมอ ไม่ประมาท
๔. เป็นผู้ใฝ่หาความรู้ ความสามารถในการประกอบอาชีพ เพื่อความมั่นคง
๕. เป็นผู้ที่รัฐสามารถอาศัยเป็นแกนหรือฐานให้กับสังคม สำหรับการพัฒนาใด ๆ ได้

แนวทางการพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมที่กำหนดโดยรัฐบาล จากคุณสมบัติของผู้มีจริยธรรมดังกล่าว แสดงถึงความเป็นคนมีคุณภาพ มีภาวะความเป็นผู้นำ อันเป็นที่ต้องการขององค์การและสังคมทุกระดับ รัฐบาลไทยได้เห็นความสำคัญของการพัฒนาคุณภาพของประชาชนในด้านจริยธรรมและคุณธรรมในสังคม จึงได้บรรจุไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ ๘ โดยเน้นการพัฒนาจิตใจในลักษณะที่สอดคล้องและเหมาะสมกับสภาพทางเศรษฐกิจและสังคมปัจจุบัน ซึ่งผลที่ปรากฏในปัจจุบันก็คือ มีการเผยแผ่ธรรมะทางสื่อต่าง ๆ มากมาย วัดวาอารามก็ได้เข้ามามีส่วนร่วมส่วนช่วยในการอบรมสั่งสอนด้วย จริยธรรมเป็นจริยสมบัติ หน่วยงานต่าง ๆ ก็ให้การสนับสนุนเป็นอย่างดี คนไทยวัยหนุ่มสาวและเยาวชนได้ให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก จากที่เห็นได้จากสื่อและข่าวต่าง ๆ เนื่องจากจริยธรรมเป็นคุณสมบุติที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องมือในการวัดคุณภาพของคน ซึ่งมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของประชากรทั้งประเทศ รัฐบาลจึงได้กำหนดแนวทางการพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมไว้ดังนี้

๑. พัฒนาจิตใจประชากรกลุ่มเป้าหมาย โดยให้ผู้นำแต่ละกลุ่มเป็นผู้บริหารเปลี่ยนแปลง
๒. ให้สถาบันของสังคมและครอบครัวทำหน้าที่อันถูกต้อง ชอบธรรมของตนเอง แก้ไขข้อบกพร่องโดยรีบด่วน
๓. บรรจุการพัฒนาจิตใจในหลักสูตร การฝึกอบรมทุกหลักสูตร และให้ดำเนินการพัฒนาต่อเนื่องต่อไป
๔. ให้มีการพัฒนาวิธีปลูกฝัง อบรม สั่งสอนศีลธรรม จริยธรรม ตามความเหมาะสมของกลุ่มเป้าหมายให้เป็นที่น่าสนใจ
๕. สร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมของสังคมอันได้แก่ศิลปะ วัฒนธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่ถูกต้องดีงามตามหลักศีลธรรมและจริยธรรม

นอกจากการพัฒนาของรัฐบาลดังกล่าว องค์การควรได้ส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรขององค์การในวิธีเดียวกันในองค์การอีกแห่งหนึ่ง เพื่อให้บุคลากรขององค์การเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่พึงประสงค์ขององค์การและประเทศชาติโดยแท้จริง การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยวิธีดังกล่าวอาจเป็นส่วนหนึ่งสำหรับการพัฒนาองค์การ ที่สำคัญก็คือองค์การควรให้มีการสร้างบรรยากาศหรือสภาวะแวดล้อมในการทำงานให้ดีด้วย ดังเช่นไม่ให้คนมีงานทำมากเกินไป หรือน้อยเกินไป การพิจารณาความดีความชอบให้มีความยุติธรรม และส่งเสริมด้วยมนุษยสัมพันธ์ภายในองค์การด้วย ซึ่งบรรยากาศที่ดีจะช่วยการพัฒนาจิตใจ ในด้านสถาบันการศึกษาก็ควรได้มีการบรรจุหลักคุณธรรมไว้ในหลักสูตร เพื่อเป็นการพัฒนาและให้การศึกษากับคนทั้งชาติ เพื่อการพัฒนาจิตใจของคนในชาติให้มีคุณภาพ